สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 5
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 116
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 12,936,194
20 เมษายน 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
 
10  11  12  13 
14  15  16  17  18  19  20 
21  22  23  24  25  26  27 
28  29  30         
             




               
  เกร็ดความรู้
มือใหม่หัดขับต้องทำอย่างไร
[29 มกราคม 2556 17:22 น.]จำนวนผู้เข้าชม 4806 คน


 

   ใครๆ ก็ต้องเคยเป็นมือใหม่หัดขับ และบางคนหวาดกลัวในหลายลักษณะการขับ และ หลายคนก็ทำอะไรผิดๆ จนติดเป็นนิสัยเมื่อกลายเป็นมือเก่าขับรถได้ หรือ ขับรถเป็นแตกต่างกัน !
 
     อ่านบทความแนะนำมือใหม่หัดขับ แต่มือเก่าก็อ่านได้ เพราะหลายอย่างอาจปฏิบัติผิดๆ มาตั้งแต่ตอนเป็นมือใหม่

    นั่งชิดพวงมาลัย ชะโงกมองหน้ารถ
    ปรับเบาะนั่งจนชิด พนักพิงตั้งชัน นั่งใกล้ พวงมาลัยมาก กลัวจับพวงมาลัยไม่ถนัด และกลัวมองไม่เห็นปลายฝากระโปรงหน้า ขาดความ มั่นใจถ้าไม่ได้มองหรือนั่งห่างพวงมาลัย
    ผลเสีย : หมุนพวงมาลัยได้ไม่คล่อง ขาด ความฉับไวในการบังคับทิศทาง เพราะข้อศอกอยู่ชิดลำตัวเกินไป และแขนงออยู่มาก ถ้าเกิดอุบัติเหตุ หากพวงมาลัยมีถุงลมนิรภัยจะเจ็บหนัก เพราะปะทะกับถุงลมฯ ในจังหวะที่แค่เริ่ม พองตัว ยังไม่พองตัวเกือบเต็มที่ หากไม่คาดเข็มขัดนิรภัยก็มีโอกาสสูงที่จะกระแทกกับพวง มาลัยแล้วบาดเจ็บหรือตาย แม้คาดเข็มขัดนิรภัย หากเป็นแบบพื้นฐานไม่ใช่ไฮเทคแบบรั้งกลับอัตโนมัติ ก็อาจจะล็อกร่างกายได้ช้า จนกระแทก กับพวงมาลัยไปก่อน
    วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง : ปรับระยะห่างของเบาะนั่งและมุมเอนของพนักพิงให้ถูกต้อง ไม่ชิดไม่ห่างไม่เอนไม่ตั้งชันเกินไป การปรับเบาะนั่ง ให้ทดลองเหยียบเบรกด้วยฝ่าเท้า(ไม่ใช่ปลายเท้า)ให้สุด แล้วขาต้องงออยู่เล็กน้อย เพราะถ้าเหยียบสุดแล้วขาตึง เมื่อเกิดอุบัติเหตุ แล้วเหยียบเบรกอยู่ แรงกระแทกจะถ่ายทอดจากแป้นเบรกสู่สะโพกได้มาก แต่ถ้าเบรกสุดแล้วขายังงอ แรงกระแทกจะทำให้เข่างอขึ้นไป แรงกระแทกจะถูกส่งสู่สะโพกน้อยกว่า
    พนักพิงเอนมาด้านหลังเล็กน้อย มีมุมเอียงประมาณ 100 องศา ตรวจสอบความเหมาะ สมของตำแหน่งได้ง่ายๆ โดยนั่งพิงพนักแล้วยื่นแขนตึงคว่ำมือไปวางเหนือพวงมาลัย วงพวง มาลัยต้องอยู่บริเวณข้อมือ ถ้าลองกำวงพวงมาลัยด้านบนสุด แขนยังต้องงออยู่เล็กน้อย ตำแหน่งการนั่งตามที่แนะนำนี้ จะทำให้การหมุนพวงมาลัยเป็นไปอย่างคล่องตัวและฉับไว ข้อศอกไม่ชิดลำตัว และแขนไม่เหยียดจนเกินไป

    จับพวงมาลัยไม่ถูกตำแหน่ง
    จับพวงมาลัยในตำแหน่งที่รู้สึกว่าตน เองถนัด บางครั้งก็จับมือเดียว บางครั้งก็ละมือ มาจับต่ำสุดเมื่อขับทางโล่งๆ ทั้งที่ใช้ความเร็วสูงอยู่
    ผลเสีย : การบังคับควบคุมในบางช่วงของการขับจะขาดความแม่นยำ ถ้าเกิดเหตุฉุก เฉิน เช่น ต้องเลี้ยวหลบอะไรเร็วๆ หรือยางแตก ก็อาจพลาดได้
    วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง : หาเปรียบเทียบหน้า ปัดนาฬิกากับวงพวงมาลัย มือซ้ายควรอยู่ในตำแหน่ง 9 นาฬิกา และมือขวา 3 นาฬิกาเสมอ ยกเว้นตอนเลี้ยว การจับ 2 มือในตำแหน่งนี้จะทำให้การควบคุมทิศทางเป็นไปอย่างแม่น ยำและฉับไว อย่าชะล่าใจจับพวงมาลัยมือเดียว หรือจับผิดตำแหน่งไปจากนี้ เพราะเหตุกะทันหันเกิดขึ้นได้เสมอบนถนนเมืองไทย แม้ แต่เดินทางไกลบนทางตรงโล่ง ก็ควรจับพวงมาลัยทั้ง 2 มือในตำแหน่งนี้ หากเมื่อยก็เอาข้อ ศอกหุบเข้ามาแนบลำตัว แม้จะไม่เคยพลาดทั้งที่จับพวงมาลัยมือเดียวหรือผิดตำแหน่ง แต่เมื่อไรเกิดเหตุฉุกเฉินควบคุมพวงมาลัยได้ไม่ดีจนเกิดอุบัติเหตุ แล้วจะนึกถึงการแนะนำนี้

    เหยียบเบรกพร้อมคลัตช์
    เมื่อไรที่กดเบรกลึกหน่อย หลายคนรีบเหยียบคลัตช์เกือบจะพร้อมกับเบรกเลย อาจจะเพราะกลัวเครื่องยนต์ดับ
    ผลเสีย : เมื่อเหยียบคลัตช์จนสุดขณะที่รถยังไม่หยุด ก็เท่ากับเป็นเกียร์ว่าง ไม่มีแรงเครื่องยนต์ช่วยหน่วงการเบรก ซึ่งในความเป็น จริงก็ไม่ได้มีผลเสียร้ายแรงอะไร หากเบรกโดย ไม่มีการหน่วงจากเครื่องยนต์ เพราะระบบเบรก ของรถยนต์ในปัจจุบันดีเพียงพออยู่แล้ว แต่ก็ไม่เห็นประโยชน์ที่จะต้องเหยียบเบรกพร้อมคลัตช์ ประเด็นสำคัญกลับกลายเป็นเรื่องของสมาธิที่ควรจะจดจ่อกับการเบรก แล้วต้องแบ่งไปที่การเหยียบคลัตช์โดยไม่จำเป็น
    วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง : เบรกเมื่อต้องการเบรก ก็ควรจดจ่อกับการเบรกและควบคุมรถ ไม่ต้องเหยียบคลัตช์ไม่ต้องยุ่งกับเกียร์ให้เหยียบ คลัตช์เมื่อรถใกล้หยุด เพื่อไม่ให้เครื่องยนต์ดับ หรือเมื่อต้องการเปลี่ยนเกียร์ต่ำลงเพื่อเร่งต่อหลังเลิกเบรก

    ลดเกียร์ต่ำช่วยเบรก
    หรือเรียกกันว่า เชนจ์เกียร์-เชนจ์เกียร์ต่ำ สอนและทำตามกันมาจนกลายเป็นเรื่องถูกต้อง หรือจำเป็นต้องทำไปแล้ว เหยียบเบรกพร้อมกับเหยียบคลัตช์ เปลี่ยนเกียร์ต่ำลงแล้วถอนคลัตช์
    ผลเสีย : เมื่อรอบเครื่องยนต์กวาดขึ้นสูงหลังลดเกียร์และถอนคลัตช์ เครื่องยนต์และเกียร์จะสึกหรอมากขึ้นโดยไม่จำเป็น และเสียทั้งสมาธิกับแรงในการเปลี่ยนเกียร์ แทนที่จะไปสนใจกับการเบรกและควบคุมรถ
    วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง : ไม่ใช่ว่าการลดเกียร์ ต่ำจะไม่ช่วยการเบรกเลย เพราะจริงๆ แล้วช่วย แต่ช่วยน้อยมากบนทางราบ หากไม่เชื่อก็สามารถทดลองได้โดยการลดเกียร์ต่ำโดยไม่เบรก กับกระแทกเบรกแรงๆ อัตราการลดความ เร็วจะต่างกันมาก จึงไม่มีความจำเป็นต้องทำในขณะที่เบรกเอาอยู่
    เบรกเมื่อต้องการเบรก ก็ควรจดจ่อกับการเบรกและควบคุมรถ ไม่ต้องยุ่งกับถ้าจะเปลี่ยนเกียร์ต่ำลงเพื่อเร่งต่อ ก็ต้องถอนคลัตช์หลังเลิกเบรกแล้ว
    การลดเกียร์ต่ำช่วยเบรกหรือควบคุมความเร็ว จะได้ผลบนทางลาดลง และได้ผลเสริม การเบรกเล็กน้อยเมื่อเบรกเอาไม่อยู่แล้ว แต่ถ้า ต้องเบรกกะทันหันอย่างหนักหน่วง ในความเป็นจริงแค่เบรกและคุมพวงมาลัยก็ยุ่งอยู่แล้ว จะลดเกียร์ต่ำโดยไม่เสียสมาธิเสียแรงได้อย่างไร ดังนั้นการเบรกก็ควรใช้เบรกตามหน้าที่ให้เต็มที่ก่อนจะไปวุ่นวายทำอย่างอื่น

    กลัวหยุดที่ทางขึ้นของสะพานหรือทางชัน
    ในกรณีของรถเกียร์ธรรมดาที่ต้องหยุดชั่วคราวในลักษณะนั้น และในเมืองใหญ่ที่การจราจรคับคั่ง รถคันที่จอดต่ออยู่ก็มักจะชิดเข้ามามาก บางคนเหยียบเบรกไว้ เมื่อจะไปต่อ ก็ถอนเบรกแล้วรีบกดคันเร่งพร้อมกับถอนคลัตช์
    ผลเสีย : รถอาจกระตุกอย่างแรง ไปชนรถคันข้างหน้า หรือเครื่องยนต์ดับไหลถอยหลังลงไป
    วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง : วิธีที่ดีที่สุด คือ ใช้เบรกมือช่วย ดึงเบรกมือไว้ขณะจอด ถ้าจะให้ดีควรเหยียบเบรกควบคู่กันด้วย การออกตัว ให้เหยียบคลัตช์เข้าเกียร์ จับเบรกมือไว้ ค่อยๆ ถอนคลัตช์และเริ่มกดคันเร่ง พอรถเริ่มกระตุก เบาๆ นั่นแสดงว่าคลัตช์เริ่มจับตัว ก็ให้กดคันเร่งเพิ่มเล็กน้อย ปลดเบรกมือพร้อมถอนคลัตช์ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรืออีกวิธีหนึ่งที่ไม่ใช้เบรกมือ คือเหยียบเบรกไว้ การออกตัว ให้เหยียบคลัตช์ เข้าเกียร์ ค่อยๆถอนคลัตช์ พอพอรถเริ่มกระ ตุกเบาๆ แสดงว่าคลัตช์เริ่มจับตัว ก็ให้ละเท้าจากเบรกรีบมากดคันเร่ง พร้อมกับถอนคลัตช์ขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    ไม่กล้ากดคันเร่งมิด เมื่อจะเน้นอัตราเร่ง
    กลัวกินน้ำมัน กลัวเบรกไม่อยู่ กลัวเครื่อง ยนต์สึกหรอ สารพัดจะกลัว
    ผลเสีย : อาจเกะกะผู้ร่วมถนนอื่นในขณะนั้น หรือเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ เพราะไม่เร่งหนี
    วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง : ในบางสถาน-การณ์ในการขับรถ การเลี่ยงไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ อาจไม่ใช่การเบรก แต่กลับเป็นการเร่งส่ง การกดคันเร่งจมมิด ไม่มีอะไรเสียหาย การสึก หรอก็เพิ่มจากปกติน้อยมาก ขับรถให้รื่นรมย์ ถ้าอยากได้อัตราเร่งดีๆ ก็ไม่ต้องลังเลที่จะกดคันเร่งหนักๆ

   เปลี่ยนเลนได้ เข้าทางได้ ไม่เร่งส่ง
    ขับเอื่อยๆ เพราะถือว่าเข้าสู่เลนที่ต้องการ ได้แล้ว
    ผลเสีย : ถ้ารถคันข้างหลังอยู่ใกล้หรือมาเร็ว ก็ถือว่าเสียมารยาทและอาจถูกชนท้ายได้
    วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง : เมื่อเข้าสู่เลนที่ต้อง การได้แล้ว หากทางข้างหน้าว่าง และมีรถตามมา ให้กดคันเร่งเพื่อหนีไปด้านหน้า เพิ่มระยะห่างด้านหลัง

    จอดไม่ชิดริมทาง
    การจอดรถในพื้นที่สั้นๆ ยาวกว่าตัวรถไม่มาก หลายคนจอดห่างริมทางหรือของทางเท้า
    ผลเสีย : ถ้าห่างมากตำรวจเขียนใบสั่งได้ เกะกะและถูกเฉี่ยวชนจากรถคันอื่น
    วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง : ถ้าขณะเข้าจอดเส้นทางโล่งพอสมควร การถอยจอดจะชิดริมได้ง่าย กว่า และต้องการพื้นที่โดยรวมสั้นกว่า การปักหัวรถเข้าไปสู่ช่องว่างจะต้องการพื้นที่ยาวมากกว่า ดังนั้นควรหัดถอยจอดตีวงให้คล่อง ไม่ต้องยึกยักหลายครั้ง

   กลัวชนวงนอก ไม่กลัวเฉี่ยววงใน
    ทั้งการขับออกจากซอย แล้วล้อหลังในปีนริมทางเท้า และการเลี้ยวเข้าที่แคบๆ
    ผลเสีย : อาจมีการเฉี่ยวชนให้ต้องซ่อมสี หรือมีอะไรเสียหาย
    วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง : ตีวงออกสู่ด้านนอกโค้งเผื่อให้ด้านในโค้งห่างสักหน่อย หากไม่ทราบ ว่าจริงๆ แล้วปลายกันชนด้านนอกโค้งจะเลยไปถึงตรงไหน ให้ทดลองตีโค้งเข้าหาเสาแต่ไม่ให้ชน แล้วลงไปดูเพื่อจำไว้ว่ามองจากในห้องโดยสารแล้วใกล้แค่ไหนถึงจะชิดเสาที่สุด

    ไม่ค่อยดูกระจกมองข้างหรือกระจกมองหลัง
    เพราะจดจ่อกับการควบคุมรถให้ไปตาม ตามเส้นทางข้างหน้า
    ผลเสีย : อาจเสียมารยาทโดยไม่รู้ตัว ทั้งเกะกะผู้อื่น เปลี่ยนเลนกระชั้นชิด หรือเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
    วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง :ไม่ยาก ก็มองกระจก มองข้างหรือกระจกมองหลังให้ถี่ขึ้น เพราะรถคันที่ตามมาอาจขับเร็ว มองแต่ละครั้งห่างกัน 3 วินาที อาจจะเข้ามาชิดแล้วก็ได้ ถ้าความเร็วต่าง กัน 50 กม./ชม. ทุก 1 วินาทีรถคันตามจะชิดเข้ามา 14 เมตรหรือประมาณ 4-5 ช่วงคันรถ

    มือใหม่หรือมือเก่า หากอยากเรียนรู้อยากปรับปรุงวิธีขับรถที่ไม่ถูกต้อง นับเป็นเรื่องที่ทำได้เสมอ ไม่ว่าจะเคยขับรถมา 2 วัน หรือ 30 ปี



 
เกร็ดความรู้
- เมื่อขับรถตกน้ำควรทำอย่างไรดี [29 มกราคม 2556 17:22 น.]
- อายุของยาง…เป็นเพียงตัวเลขหรือความเชื่อ? [29 มกราคม 2556 17:22 น.]
- ซื้อรถมือสองอย่างไรไม่ให้โดนย้อมแมว [29 มกราคม 2556 17:22 น.]
- 32 สุดยอดเทคนิคสำหรับผู้ใช้รถ [29 มกราคม 2556 17:22 น.]
- ติดสปอยเลอร์โก้เก๋ดีอย่างไร [29 มกราคม 2556 17:22 น.]
- อบอุ่นร่างกายให้กับรถยนต์ด้วยการ “วอร์มเบต” [29 มกราคม 2556 17:22 น.]
- รถป้ายแดง ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร [29 มกราคม 2556 17:22 น.]
- มือใหม่หัดขับต้องทำอย่างไร [29 มกราคม 2556 17:22 น.]
- ออกรถใหม่ วันรับรถต้องเช็คอะไร [29 มกราคม 2556 17:22 น.]
- การกระตุกตัวถัง [29 มกราคม 2556 17:22 น.]
ดูทั้งหมด

  แสดงความคิดเห็น

ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ ตัวขีดกลาง ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา รูปภาพ ลิ้งก์ ขนาดต้วอักษร สีต้วอักษร

ชื่อ: *
E-mail : *
ไม่ต้องการแสดง Email
รหัสตรวจสอบ : Security Image
* กรุณากรอกรหัสที่อยู่ในรูป

Copyright © 2008 All Rights Reserved.by
thaiwebber.com